ข้อมูลทั่วไป
ตำบลบางบ่อ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบางบ่อ (บางเหี้ย) จังหวัดสมุทรปราการ
คำว่า บางบ่อ มาจากคำว่า บาง และคำว่า บ่อ คำว่า บาง หมายถึง ทางน้ำเล็กๆที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล คำว่า บ่อ หมายถึง ช่องลึกลงไปในดินใช้เป็นที่ขังน้ำขังปลา |
เมื่อรวมกันแล้วคำว่าบางบ่อน่าจะหมายถึงท้องที่ที่มีทางน้ำเล็กๆ อยู่ใกล้ทะเลและมีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ หรือขุดบ่อล่อปลาให้เข้า ไป อยู่เวลาน้ำขึ้นและ เปิดน้ำออกเพื่อจับปลาเวลาน้ำลง ชาวตำบลบางบ่อ แต่เดิมประกอบอาชีพทำนามากบ้างน้อยบ้างตามฐานะ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และอุดมสมบูรณ์ ต่อมาการทำนาไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากมีวัชพืช แมลง ศัตรูพืชระบาด และพื้นดิน เสื่อมสภาพจึงหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้งการเลี้ยงกุ้งไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จึงหันมาเลี้ยงปลา เพราะต้นทุนต่ำกว่าการเลี้ยงกุ้งและมีความเสี่ยงน้อยกว่าประกอบกับมีการกว้านซื้อที่ดิน เพื่อใช้ประโยชน์อื่น รองรับ การขยายตัว ของเมืองเช่นบ้านจัดสรรโรงงานอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟโกดังสินค้าจึงทำให้มีการเปลี่ยนมือการถือครองที่ดิน ไปจากคนในตำบล จะเห็นได้จากที่ดินหลายแห่งไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นที่ดินรกร้างอยู่เป็นจำนวนมากตำบลบางบ่อ เป็นตำบลหนึ่งในแปดตำบลของ อำเภอบางบ่อ ได้รับการจัดตั้งให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
|
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ มีพื้นที่ ประมาณ ๔๙ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๐,๖๒๕ ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอบางบ่อ ปัจจุบันที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ ตั้งอยู่ที่ ๙๙๙ ซอยผู้ใหญ่วีระ ถนนรัตนราช หมู่ที่ ๑ ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
|
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเปร็ง
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบางเพรียง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง |
วิสัยทัศน์
"ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยึดหลักธรรมภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ตามเศรษฐกิจพอเพียง "
พันธกิจ (Mission)
1. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น
2. พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
4. ส่งเสริมการกีฬาและการสาธารณสุขมูลฐานที่ดี
5.การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
6. พัฒนาและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. พัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. ประชาชนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ ร่วมทำนุบำรุงรักษาศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
2. ประชาชนได้รับบริการทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน,สาธารณูปโภค ที่ได้มาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการและครอบคลุมทุกพื้นที่
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักประชาธิปไตย
4. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีถ้วนหน้า
5. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข
6. ประชาชนร่วมอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้ม
|
ข้อมูลทั่วไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)